The Blog

กกกกกกก

การแบ่งส่วนตลาด ในแบบ Digital marketing




กกกกกกก

วันนี้มีโอกาสได้ไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งพูดถึงพูดถึงการทำการตลาดออนไลน์  ชื่อหนังสือว่า  re:digital มันมีประเด็นที่น่าสนใจทีเดียวเกี่ยวกับเรื่อง การทำการตลาดออนไลน์  สำหรับคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจอะไรซักอย่างนะค่ะ  หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ การแบ่งส่วนตลาด  บน โลกออนไลน์ นั้นเอง  มันมีรายละเอียดปลีกย่อย อย่างไรลองไปดูกันค่ะ

ในการขายสินค้านั้นสิ่งสำคัญของการขายคือจะต้องคำหนึ่งว่าจะขายให้กับใคร  ใครคือเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ ใครที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือ บริการของเรา คงเป็นไปไม่ได้ถ้าจะบอกว่า สินค้าที่ผลิตมาขายให้กลับทุกๆคน  คนที่พูดว่าสินค้าของเขาขายให้กับ Everyone แสดงว่าเขาผู้นั้นต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร เลยทีเดียว จนคนทั่วไปคงจะรู้จักสินค้า และบริการนั้นเป็นอย่างดี

แต่หากว่าใครที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เราควรมาดูหลักการพื้นฐานของเด็ก MBA  ที่เรียกว่า STP กันค่ะ      STP คือ การแบ่งส่วนตลาด แล้วกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นก็วางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาดนั้นเอง

  • การแบ่งส่วนตลาด(Segmentation)
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Targeting)
  • วางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาด (Positioning)

ในส่วนนี้เราต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่า มันก็คือเพื่อสร้างความชัดเจนและสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อเป็นขั้นเป็นตอนในการทำการตลาดนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งลูกค้าตามเพศ อายุ แล้วจากนั้น แล้วจากนั้นก็ซื้อโฆษณาออนไลน์ระบุไปว่า อยากได้แบบไหน ช่วงอายุเท่าไร เช่นช่วง 20-10,30-40และ 40-50ปี ส่วนวางแหล่งผลิตภัณฑ์ลงในตลาด เราก็จะสามารถแสดงออกใน wording  ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวีดีโอต่างๆ ตาม Targeting ที่เราระบุไว้นั้นเอง

STPคือหลักการพื้นๆที่เราจะต้องเข้าใจให้ดีทีเดียว เพราะถ้าเราแบ่งกลุ่มเป็น  เลือกกลุ่มได้ และว่างตำแหน่งสินค้าด้วยการสื่อสารออนไลน์อย่างถูกวิธี  ช่องทางดิจิตอลคือทางเลือกที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในยุคนี้ค่ะ

บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วการทำ STP มันดีอย่างไร จะแบ่งกลุ่มคนด้วยอะไร คำตอบแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละธุรกิจมีบริบทที่แตกต่างกันไป ส่วนหลักเกณฑ์หลักๆมันมีอยู่ 2 แบบคือ ใช้ลักษณะของผู้บริโภค และการตอบสนองของผู้บริโภค  แต่ถ้าลงลึกในลายละเอียด แต่ละธุรกิจก็สามารถแบ่งจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนไปเลยด้วยซ้ำ  เลยต้องขอยกตัวอย่างวิธีการแบ่งแบบพื้นฐานให้ดูก่อนละกันค่ะ

  1. Geographic segmentation คือแบ่งแบบภูมิศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้ง อยู่จังหวัดไหน ประเทศไหน จะเจาะลึกหรือกว้างเท่าไรก็อยู่ที่เรากำหนดค่ะ ตัวอย่างเช่น เราขายอุปกรณ์เชียร์บอล เราก็มุ่งเป้ากลหมายไปที่ แฟนบอล แบ่งออกตามท้องถิ่น เช่น บุรีรัมย์  , เมืองทอง  ยูไนเต็ด , ชลบุรี เอฟซี ถิ่นใครก็ถิ่นมัน  ถ้าแบบนี้เราก็จะเห็นการแบ่งแบบภาพรวมโดยชัดเจน

 

  1. Role-based segmentation คือการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ เพราะแต่ละคนมีอำนาจ ตำแหน่งการซื้อไม่เท่ากัน บางคนใช้ แต่ไม่ได้ซื้อ  บางคนซื้อแต่ไม่ได้ใช้  หรือบางคนไม่ได้ใช้และไม่ได้ซื้อแต่มีส่วนให้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นไม่ว่าเราจะพุ่งเป้าหมายการขายให้กับ องค์กร ธุรกิจ หรือครอบครัว เราต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่เขาก่อน เพื่อที่เราจะมาสร้างเนื้อหาเพื่อสอดคล้องแต่ละกลุ่มที่แบ่งมา

 

  1. Time-based segmentation คือการแบ่งตามช่วงเวลา เช่นสินค้าใดขายได้ตามฤดูไหน นั้นเอง อุปกรณ์สังฆทาน มีฤดูขายดีช่วงวันพระ ซึ่งแต่ละเดือนมี 4 วัน และขายดีมากในช่วงวันพระใหญ่นั้นเอง

 

  1. Age-based segmentation คือ แบ่งตามอายุโดยชัดเจนเลยสินค้าหรือบริการบางอย่าง ใช้วิธีการนี้ได้ แต่เดี๋ยวนี้อยากจะบอกว่าสินค้าหรือบริการบางชนิด ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ มันก็ไม่ใช่ประเด็นแล้ว เพราะยุคสมัยนี้ทุกคนสามารถเลือกใช้ของแบบเดียวกันได้ ดังนั้นหากใช้อายุเป็นเกณฑ์ ในการแบ่งก็คงจะไม่เหมาะสม

 

  1. Sex-based segmentation คือ การแบ่งตามเพศ เกณฑ์การแบ่งตามเพศก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เริ่มใช้ไม่ค่อยได้ สินค้าสำหรับผู้หญิงบางทีผู้ชายก็ใช้  ความเป็น Metrosexual ทำให้อะไรหลายๆอย่างกลายเป็นสีเทามากยิ่งขึ้น

 

  1. Interest – based segmentation คือการแบ่งตามความสนใจเช่นกลุ่มคนที่สนใจกีตาร์ สนใจเกมส์ หรือสนใจธุรกิจ คนที่ให้ความสนใจในเรื่องเดียวๆกันก็จะชอบอะไรเหมือนๆกัน  และถ้าเข้าถึงกลุ่มคนพวกนี้ด้วย Facebook ads ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย

 

  1. Engagement segmentation คือการแบ่งตามความผูกผัน  เช่นพวกเขาเป็นลูกค้าประจำ   หรือลูกค้าที่มาเยี่ยมชมครั้งแรกๆ การรับรู้ความต้องการของลูกค้าแต่ละระดับที่แตกต่างกันย่อมช่วยให้เราสามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าได้ดีขึ้นนั้นเอง

สำหรับธุรกิจเริ่มใหม่อยากให้คุณลองจินตนาการลูกค้าดูว่า กลุ่มลูกค้าคุณว่าเขาหรือเธอคนนั้นมีหน้าตาท่าทางแบบไหน ถ้านึกออก ก็จะสามารถแบ่งกลุ่มหรือเลือกกลุ่มที่ต้องการได้  ส่วนธุรกิจที่ดำเนินมาซักระยะแล้วก็ควรจะเก็บข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ด้วยนะค่ะ เพื่อใช้ในการทำการตลาดในอนาคต

ในการทำการตลาดสิ่งที่เราต้องทำคือการทำกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  ปัจจุบันลูกค้าฉลาดขึ้น มีข้อมูลมากขึ้น เรียกร้องมากขึ้น เราต้องรู้จักการพูดคุยกับลูกค้าในฐานะนักการตลาด หากเราสื่อสารข้อความถูกที่ ถูก คนถูกเวลา เราก็อาจจะมียอดการขายเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าผิดคน ผิดที่ ผิดเวลา  ก็อาจจะสร้างความน่ารำคาญให้กับบุคคลคนนั้นได้ เลวร้ายที่สุดก็คือการเมินหน้าหนี้ หันหน้าไปหาคู่แข่ง วันนี้เลยจะมาเสนอขั้นตอนใตการแบ่งส่วนตลาด  ให้ทุกคนได้ลองศึกษาดูค่ะ

  1. ตั้งเป้าหมาย อะไรคือวัตถุประสงค์ของธุรกิจ? เราต้องระบุโอกาสในการขายพ่วง หรือต้องการเพิ่มจากอัตราผู้ชมมาเป็นผู้ซื้อ  ของลูกค้าปัจจุบัน  เลือกมาก่อนบางอย่าง  เรียงลำดับความสำคัญ  เพื่อเข้าหากลุ่มลูกค้าให้ถูกกลุ่ม
  2. รวบรวม ข้อมูลคือหัวใจสำคัญที่สุดในการแบ่งส่วนตลาด ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลจึงจำเป็นต้องเก็บมาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเอามาดูภาพรวมว่ากลุ่มลูกค้าเรามีหน้าตาเป็นเช่นไร
  3. วิเคราะห์ หลังจากทำ 2 ขั้นแล้ว ทีนี้ถึงเวลาตัดสินใจแล้วว่าอะไรคือคีย์ หลักเพื่อใช้ในการแยกกลุ่ม เช่น ถ้าเป้าหมายของเราคือ การเพิ่มยอดขายเฉลี่ยต่อ Order เราก็เอาข้อมูลประวัติการขายย้อนหลังสามเดือนมาดู  ลูกค้ารายใดมีการซื้อบ้าง มีความถี่อย่างไร เขามีพฤติกรรมการเข้าเว็บเราอย่างไร ซื้อเพราะโปรโมชั่นใช้ไหม  หากเราระบุชัดได้เราก็สามารถกระตุ้นยอดขายได้
  4. ทดสอบและปรับปรุง เมื่อเราแบ่งกลุ่มแล้วแน่นอนเราก็ต้องมาทดสอบจากสิ่งที่เราคิดไปแล้วว่ามันใช่ไหม? แต่ละกลุ่มที่เราแบ่งไปมันถูกต้องหรือป่าว ยิ่งทดสอบมาดเท่าไร  เราก็จะได้ข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงการแบ่งส่วนตลาดมากขึ้นเท่านั้น  จำไว้อย่างหนึ่งคือ STP ไม่ใช้การทำแค่ครั้งเดียว มันจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ต้องคอยจับตาดูว่าเมื่อเวลาผ่านไปแล้วเป้าหมายของเราเปลี่ยนไปด้วยไหม  ข้อมูลที่มีอยู่สามารถเห็นภาพลูกค้ามากขึ้นแค่ไหน  หรือต้อง Clean data ที่มีอยู่เพราะว่ามันมีขยะเยอะไปหมด  เราต้องหมั่นใส่ใจปรับปรุ่งตลอดเวลาเพื่อให้เข้าใจลูกค้ามากที่สุด